ถุงพลาสติกขนาดใหญ่แข็งแรงเหนียว ทนทาน โดย endupak

สวัสดีครับ !! วันนี้เราได้นำวีดีโอประกอบการบรรยายมาให้ได้ดูให้ได้ชมกันนะครับ โดยที่วันนี้จะเป็นวีดีโอประกอบการใช้งานถุงพลาสติกสวมถุงบิ๊กแบก (Big Bag) เพื่อรองก้นอีกทีนึงนั้นเอง ซึ่งตัวถุงที่นำไปใช้นั้นผลิตและบริการโดย บริษัท เอ็นดูแพ้ค จำกัด ที่สั่งทำเป็นพิเศษ ทำให้มีความหนา และความยาว กว้าง สูง ตามที่ต้องการตามการใช้งานแต่ละหน้างานนั้นเอง ซึ่งบริษัท เอ็นดูแพ้ค จำกัด บริการผลิตและจัดทำถุงพลาสติก ทุกรูปทรง ไม่ว่าจะเป็น ถุงแกง ถุงมุ้ง ถุงพับข้าง โดยที่ผู้สนใจสามารถสั่งตามขนาด กว้าง ยาว หนา ได้ตามที่ต้องการ ไม่ว่าจะคลุมเตียง คลุมรถ จนกระทั่งคลุมตู้คอนเทนเนอร์ สำหรับเคลื่อนย้ายสินค้าก็สามารถที่จะสั่งทำได้นั้นเอง
หากต้องการคำแนะนำสอบถามเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่
คุณเจษฎา โทร 098-995-3600 ไอดีไลน์ endupak

idline : endupak

Endupak รับผลิตถุงทุกไซซ์เท่าที่ต้องการ (วีดีโอ)

ENDUPAK
บริษัทเอ็นดูแพ้ครับสั่งผลิตถุงพลาสติกขนาดใหญ่ถึงขนาดใหญ่มาก
ถุงมุ้ง หรือถุงรูปทรงสี่เหลี่ยม (Square Shape Poly Bag)
ถุงคลุมพาเลท (Pallet Cover)
ถุงรองก้นกล่อง (Box Liner)
ถุงรองก้นกระสอบบิ๊กแบ๊ค(Big Bag Liner)

สอบถามรายละเอียด
คุณเจษฎา (เจษ)
HP:098-995-3600
LINE ID: ENDUPAK
https://www.endupak.com

ถุงพลาสติกในเชิงเทคนิคเป็นอย่างไร ?

เป็นเพียงรูปประกอบที่ถูกนำมาใช้ประกอบบทความของ ENDUPAK เท่านั้น
เป็นเพียงรูปประกอบที่ถูกนำมาใช้ประกอบบทความของ ENDUPAK เท่านั้น

พลาสติก เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นใช้แทนวัสดุธรรมชาติบางชนิดเมื่อเย็นก็แข็งตัว เมื่อถูกความร้อนก็อ่อนตัว บางชนิดแข็งตัวถาวร มีหลายชนิด เช่น ไนลอน ยางเทียม ใช้ทำสิ่งต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า ฟิล์ม ภาชนะ ซึ่งเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งของขยะในทะเล
พลาสติกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เทอร์โมพลาสติก และ เทอร์โมเซตติงพลาสติก

Continue reading ถุงพลาสติกในเชิงเทคนิคเป็นอย่างไร ?

วัตถุป้องกันการลามไฟที่ใช้ในการขนส่งทางอากาศคืออะไร ?

ภาพตัวอย่างประกอบการขนส่งสินค้าทางอากาศที่มีการใช้งานวัตถุป้องกันการลามไฟ
ภาพตัวอย่างประกอบการขนส่งสินค้าทางอากาศที่มีการใช้งานวัตถุป้องกันการลามไฟ

กระบวนการทำงานของสารตกแต่งต้านการลามไฟ คือ การทำให้วัสดุเชื้อเพลิงที่ติดไฟในองค์ประกอบทั้ง 3 แปรสภาพเป็นวัสดุที่ไม่ติดไฟหรือติดไฟได้ยากขึ้น โดยการใช้สารตกแต่งต้านการลามไฟตกแต่งสำเร็จไปบนเส้นใยของเส้นด้ายหรือผ้าผืน สารเคมีตกแต่งต้านการลามไฟมีหลากหลายประเภท เช่น กลุ่มของสารประกอบโบรมีน, กลุ่มสารประกอบฟอสเฟต, กลุ่มสารอลูมิเนียม กลุ่มของสารนาโนแคลย์ เป็นต้น โดยสารเคมีตกแต่งต้านการลามไฟจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของเส้นใยที่เป็นเส้นด้ายหรือผืนผ้านั้น เช่น Polyester, Cotton, T/C, CVC, Silk, Wool เป็นต้น โดยสารตกแต่งต้านการลามไฟที่นิยมมากที่สุด เนื่องจากคุณภาพที่ดี ราคาไม่แพง และ สามารถผ่านมาตราฐานต่างๆ ตามที่ลูกค้ากำหนด ได้แก่ สารในกลุ่มสารประกอบฟอสเฟต

1.2 ประเภทของสารตกแต่งต้านการลามไฟตามการใช้งานมี 3 ประเภท

  1. แบบไม่ทนซัก (Non-permanent)
  2. กึ่งทนซัก (Semi-permanent)
  3. ทนต่อการซัก (Permanent )
ภาพตัวอย่างประกอบการขนส่งสินค้าทางอากาศที่มีการใช้งานวัตถุป้องกันการลามไฟ
ภาพตัวอย่างประกอบการขนส่งสินค้าทางอากาศที่มีการใช้งานวัตถุป้องกันการลามไฟ

พลาสติกกรองแสงผสมสาร UV

ภาพประกอบการใช้งานถุงพลาสติกกัน UV สำหรับโรงเรือนเพาะพืชพันธ์
ภาพประกอบการใช้งานถุงพลาสติกกัน UV สำหรับโรงเรือนเพาะพืชพันธ์

เนื้อพลาสติกกรองแสง ชั้นเยี่ยมเกรด A ผสมสาร UV ป้องกันแสงแดด ทนทาน เหมาะสำหรับช่วยลดแสงแดด ให้ความร้อนน้อยลง ลดความแรงของเม็ดฝน เหมาะสำหรับใช้ในงานเกษตร สำหรับแปลงเพาะต้นไม้ พืชผัก เรือนเพาะชำ ฟาร์มผักผลไม้ กันแดด กันฝุ่นก่อสร้าง กันแดดสระว่ายน้ำ บ่อปลา บ่อกุ้ง ทำที่จอดรถ,ปลูกกล้วยไม้,คลุมหลังคากันแดด
ใช้ในเรือนเพาะชำ กันแดด ทำที่จอดรถ,ปลูกกล้วยไม้,คลุมหลังคากันแดด ใช้ในสวน บ้านพักอาศัย

วันฉัตรมงคลรำลึก Coronation Day

วันฉัตรมงคลรำลึก
วันฉัตรมงคลรำลึก

ฉัตรมงคล (อ่านว่า ฉัด-ตระ-มง-คน หรือ ฉัด-มง-คน) Coronation Day มีความหมายตว่า พระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตร ซึ่งจะกระทำในวันคล้ายวันบรมราชาภิเษก

Anti-bacteria films

Anti-bacteria films
Anti-bacteria films
Anti-bacteria films

ฟิล์มป้องกันแบคทีเรีย (Anti-bacteria films) สำหรับติดบนจุดที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการสัมผัส เช่นปุ่มกดลิฟท์ มือจับประตู

ถุงพลาสติก LDPE คืออะไร

รูปตัวอย่างถุงพลาสติก LDPE Low density polyethylene
รูปตัวอย่างถุงพลาสติก LDPE Low density polyethylene

Low density polyethylene (LDPE) เป็นพลาสติกประเภทพอลิเอทิลีน (polyethylene) ที่มีความหนาแน่นต่ำ

เป็นพอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (low density) (0.910 -0.925 g/cm3)
ชื่อสามัญเรียกว่าถุงเย็น เพราะไม่ทนความร้อน
สามารถใช้ความร้อนเชื่อมติดผนึกได้ดี
นิ่ม ยืดหยุ่นได้ดีทนต่อการทิ่มทะลุและการฉีกขาด
เหนียว ไม่กรอบแตกง่าย แต่ความแข็งและทนทานน้อยกว่า HDPE (high density polyethylene)
โปร่งใส มี ความใสน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับ PP แต่ใสกว่า HDPE (high density polyethylene) ไม่ว่องไวต่อสารเคมี ทนต่อกรดและด่างได้ดี
ป้องกันการผ่านของความชื้นได้ดี
ออกซิเจนและอากาศซึมผ่านได้
ไขมันซึมผ่านได้
ดูดฝุ่นในอากาศมาเกาะติดตามผิว ทำให้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจาก LDPE นี้เมื่อทิ้งไว้นานๆ จะเปรอะด้วยฝุ่น
การใช้เพื่อเป็นบรรจุภัณฑ์อาหาร

ถุงเย็น
ฟิล์มหดและฟิล์มยืด
ขวดน้ำ ฝาขวด
ใช้เป็นแผ่นฟีส์ม เพื่อทำบรรจุภัณฑ์สำหรับ modified atmosphere packaging
ใช้ผลิตแผ่นฟิล์ม โดยใช้รวมกับวัสดุอื่น เป็นวัสดุประสาน (laminate) เพื่อปิดผนึกด้วยความร้อน และใช้กับบรรจุภัณฑปลอดเชื้อ (aseptic packaging) เช่น

  • laminate carton
  • bag in box

ข้อจำกัดการใช้

ไม่เหมาะที่จะนำไปใช้บรรจุอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอด ขนมอบกรอบ เพราะป้องกันการซึมผ่านเข้าออกของไขมัน และออกซิเจนไม่ดี ทำให้เกิดกลิ่นหืน (rancidity) ได้ง่าย เนื่องจากปฏิกิริยาออกซิเดชันของลิพิด (lipid oxidation)
ไม่ทนต่อความร้อน ไม่สามารถใช้กับกระบวนการบรรจุร้อน (hot fill) ได้ ใช้ได้เฉพาะการบรรจุอาหารขณะเย็นเท่านั้น (Cool filled: อุณหภูมิขณะบรรจุไม่เกิน 80 องศาเซลเซียส)

นักวิทย์กับแมลงกินถุงพลาสติก

ตัวอย่างแมลงย่อยสลายถุงพลาสติก
ตัวอย่างแมลงย่อยสลายถุงพลาสติก

นักชีววิทยาที่ค้นพบแมลงที่สามารถกินถุงพลาสติกได้คือ ดร. Federica Bertocchini
ยังเป็นนักเลี้ยงผึ้งมือสมัครเล่นด้วย วันหนึ่งตอนที่เธอกำลังทำความสะอาดบ้านผึ้ง เธอเอา waxworm
ออกมาใส่ไว้ในถุงพลาสติก เตรียมเอาไปจัดการ นึกไม่ถึงว่าพอเธอทำความสะอาดเสร็จ ก็สังเกตเห็นว่าบนถุงพลาสติกมีรูเล็กๆ เต็มไปหมด
waxworm หลายๆตัวกำลังหนีออกจากรูพวกนั้น
หลังผ่านการวิเคราะห์หลายต่อหลายครั้ง พบว่า waxworm จะทำลายพันธะเคมีของพลาสติก แปลงเป็นเอทิลีนไกลคอล (ethylene glycol)
นี่เป็นองค์ประกอบสำคัญของสารป้องกันการแข็งตัวและยังถูกใช้เป็นตัวทำละลาย Paolo Bombelli
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ชี้ว่า การย่อยสลายพลาสติกเป็นปัญหาใหญ่ในการรักษาสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด
ถึงตอนนี้การค้นพบนี้มีแนวโน้มที่จะแก้ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมได้แล้ว!

ตัวอย่างแนวคิดการเก็บโลหะ iron-treating concept

ตัวอย่างวัตถุโลหะ ชิ้นงานโลหะที่ต้องการใช้ในการจัดเก็บเพื่อส่งต่อหรือเก็บรักษา

สวัสดีครับ วันนี้เรา เอ็นดูแพ้ค จะมาพูดถึงเรื่องการจัดเก็บโลหะวัตถุต่างๆด้วยถุงพลาสติกโดยวันนี้เราจะยกตัวอย่างคอนเซ็ปการเก็บโลหะให้ได้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้นเพื่อที่จะเข้าใจการใช้งานถุงพลาสติกในการจัดเก็บโลหะอย่างเห็นภาพนั่นเอง
โดยที่วันที่ตัวอย่างที่เรายกมาจะเป็นในส่วนของภาคอุตสาหกรรมการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ซึ่งมีการใช้งานในส่วนของการเคลื่อนย้ายและจัดเก็บโดยใช้งานถุงพลาสติกอีกด้วย

Continue reading ตัวอย่างแนวคิดการเก็บโลหะ iron-treating concept

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save